The Elders Scroll Skyrim - Help Select

วันเสาร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2558


ขอให้สนุกกับการชม


ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์

                                                                        ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์


1.ประโยชน์ด้านการศึกษา ใช้เพื่องานด้านการเรียนการสอนในหลายรูปแบบ เช่นการ
นำบทเรียน การผลิตสื่อการสอน การใช้ซีดีรอมสำหรับการเรียนรู้ เกมเพื่อการศึกษาหรือ
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
2.ด้านความบันเทิง เป็นการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อความสนุกสนานบันเทิง เช่น เล่นเกม
ฟังเพลงชมภาพยนต์
3.ด้านการเงิน การธนาคาร ใช้ในการเบิก - ถอนเงินผ่านเครื่อง ATM การโอนเงินด้วย
ระบบด้วยอัตโนมัติโดยโอนเงินจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งโดยผ่านระบบเครือข่าย
คอมพิวเตอร์ การดูข้อมูลตลาดหุ้นการทำกราฟแสดงยอดขาย
4.ด้านการสื่อสารและคมนาคม ใช้ในการติดต่อสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ต สื่อสาร
ถ่ายทอดผ่านดาวเทียมการติดต่อสื่อสารผ่านโทรศัพท์ การคมนาคมทางเรือ เครื่องบิน
และรถไฟฟ้า
5.ด้านศิลปะและการออกแบบ เป็นการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการวาดรูปการ์ตูนออกแบบ
งานและการสร้างภาพกราฟิกหรือการตกแต่งภาพในคอมพิวเตอร์
6.ด้านการแพทย์์ ปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยงานด้านการแพทย์หลายด้าน
เช่น การเก็บประวัติคนไข้ การใช้ทดลองประกอบการวินิจฉันของแพทย์ใช้ในการตรวจ
เลือก ตรวจปัสสาวะ การผ่าตัดหัวใจการตรวจสอบห้องพักผู้ป่วยว่าว่างหรือไม่ การ
ควบคุมแสงเลเซอร์การเอ็กซ์เรย์ การตรวจคลื่อนสมองคลื่นหัวใจ เป็นต้น
7.ด้านวิทยาศาสตร์และเคมี ใช้ในการวิเคราะห์สูตรทางเคมีการคำนวณสูตรทาง
วิทยาศาสตร์การค้นคว้าทดลองในห้องวิทยาศาสตร์ การคำนวณเกี่ยวกับระบบสุริยะ

จักรวาลและการเกิดปรากฏการณ์เกี่ยวกับดวงดาวต่าง

บทบาทของคอมพิวเตอร์

                                                                    บทบาทของคอมพิวเตอร์



1. บทบาทของคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา
คอมพิวเตอร์ช่วยในงานบริหาร เช่น การคิดคะแนน
ทำทะเบียนบุคลากร
คอมพิวเตอร์ช่วยในงานบริการ เช่น งานห้องสมุด งานแนะแนว
คอมพิวเตอร์ช่วยในการเรียนการสอน
2. บทบาทของคอมพิวเตอร์ในวงราชการ
คอมพิวเตอร์ช่วยในการทำทะเบียนราษฎร์
คอมพิวเตอร์ช่วยในการนับคะแนนเลือกตั้ง คิดภาษี อากร การบริหารทั่วไป
คอมพิวเตอร์ช่วยในการรวบรวมข้อมูลและสถิติ
การบริหารงานทั่วไปของหน่วยงานราชการ ทำให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว ยิ่งขั้น

3. บทบาทของคอมพิวเตอร์ในงานสังคมศาสตร์
คอมพิวเตอร์ช่วยในงานวิจัย เพื่อให้ได้คำตอบออกมาอย่างรวดเร็วและถูกต้อง
4.บทบาทของคอมพิวเตอร์ในวงการแพทย์
คอมพิวเตอร์ช่วยในการบันทึก
ค้นหาทะเบียนประวัติผู้ป่วย
คอมพิวเตอร์ช่วยในการวินิจฉัยโรค เช่น ตรวจคลื่น สมอง บันทึกการเต้นของหัวใจ
คอมพิวเตอร์ช่วยในการคำนวณหาตำแหน่งที่ถูกต้อง ของอวัยวะก่อนการผ่าตัด

5และสื่อสาร
คอมพิวเตอร์ช่วยในการจองตั๋วเครื่องบิน
คอมพิวเตอร์ช่วยในการเก็บข้อมูล สถิติของผู้โดยสาร
คอมพิวเตอร์ช่วยในการควบคุมการจราจรทางอากาศ
6. บทบาทของคอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจ
คอมพิวเตอร์ช่วยในการวางแผนธุรกิจ
คอมพิวเตอร์ช่วยในการประเมินสถานการณ์ทาาง เศรษฐกิจในอนาคตได้อย่างแม่นยำ
คอมพิวเตอร์ช่วยงานธุรการ เช่น งานพัสดุ งานภาษี การทำจดหมายโต้ตอบ
7. บทบาทของคอมพิวเตอร์ในงานธนาคาร
คอมพิวเตอร์ช่วยในการรับฝากและถอนเงิน ที่เป็นภาระกิจประจำของธนาคาร
คอมพิวเตอร์ช่วยในการคิดดอกเบี้ยในอัตราต่างๆ
คอมพิวเตอร์ช่วยให้ลูกค้า ฝากถอนเงินด่วน หรือโอนเงินจากเครื่องได้โดยอัตโนมัติ (ATM)
8. บทบาทของคอมพิวเตอร์ในงานวิศวกรรม
คอมพิวเตอร์ช่วยในการเขียนแบบ
คอมพิวเตอร์ช่วยในการควบคุมหุ่นยนต์ให้ทำงาน
คอมพิวเตอร์ช่วยในการคำนวณโครงสร้าง วางแผน ควบคุมการก่อสร้าง
9. บทบาทของคอมพิวเตอร์ในงานวิทยาศาสตร์
คอมพิวเตอร์ช่วยในการเปรียบเทียบ คัดเลือกข้อมูล
คอมพิวเตอร์ช่วยในการทดลองที่เป็นอันตราย
คอมพิวเตอร์ช่วยในการเดินทางของยานอวกาศ การถ่ายภาพระยะไกล และการสื่อสารผ่านดาวเทียม
10. บทบาทของคอมพิวเตอร์ในร้านค้าปลีก
ห้างสรรพสินค้าใหญ่ ๆ ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์คิดเงินแทนเครื่องคิดเลข
การอ่านรหัสด้วยเครื่องอ่าน (Barcode


ระดับของสารสนเทศ

                                                                  ระดับของสารสนเทศ

ระดับขององค์กร
          1.
สารสนเทศระดับบุคคล  คือ  สารสนเทศที่ส่งเสริมการทำงานให้แก่ผู้ใช้แต่ละคน  ทำให้ทำงานในหน้าที่
ที่รับผิดชอบมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  ซึ่งสารสนเทศที่ใช้จะมีความแตกต่างกันไปตามลักษณะของการทำงาน
และความรับผิดชอบของแต่ละบุคคล  เช่นพนักงานขายใช้สารสนเทศในการนำเสนอสินค้าให้ดูน่าสนใจ  และ
นักเรียนใช้สารสนเทศทำรายงานที่สะอาดและเรียบร้อย
           2.
สารสนเทศระดับกลุ่ม  คือ  สารสนเทศที่ช่วยส่งเสริมการทำงานของกลุ่มบุคคลที่มีจุดมุ่งหมาย
ในการทำงานอย่างเดียวกัน  ซึ่งส่งเสริมการใช้ข้อมูลและอุปกรณ์เทคโนโลยีพื้นฐานร่วมกัน  สารสนเทศระดับกลุ่ม
จึงมีการใช้ระบบเครือข่ายมาร่วมในการทำงาน  จึงทำให้สามารถใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และข้อมูลที่เก็บไว้ใน
ระบบฐานข้อมูลร่วมกัน  ด้วยการสร้างแฟ้มข้อมูลขึ้นที่เครื่องเซิร์ฟเวอร์  ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการเก็บ
ข้อมูล  เช่น พนักงานขายสามารถใช้ข้อมูลสิ้นค้าแบบเดียวกันได้ทุกคน  และนักเรียนสามารถสั่งพิมพ์เอกสาร
ด้วยเครื่องพิมพ์เดียวกันจากคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ได้ในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
           3.
สารสนเทศระดับองค์กร  คือ  สารสนเทศที่ส่งเสริมการทำงานในภาพรวมขององค์กร  ซึ่งจะเกี่ยวข้อง
สัมพันธ์กันในหลายฝ่าย  จึงมีการเชื่อมโยงสารสนเทศระดับกลุ่มหลาย ๆ กลุ่มเข้าด้วยกัน  ทำให้เกิดประโยชน์ใน
การบริหารงานในระดับผู้ปฏิบัติการและผู้บริหารระดับสูง  ซึ่งสามารถใช้ข้อมูลจากฝ่ายใดก็ได้  เพื่อประโยชน์ใน
การตัดสินใจ

ระดับของผู้บริหาร
            1.
ผู้บริหารระดับล่าง  เป็นการใช้สารสนเทศในการปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน  เช่น
ผู้จัดการใช้โปรแกรมไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนสารสนเทศกับหัวหน้าแผนกต่าง ๆ
และนักเรียนใช้สารสนเทศในการทำงานหรือในการเรียนในวิชาต่าง ๆ
            2. 
ผู้บริหารระดับกลาง  เป็นการใช้สารสนเทศเพื่อการวางแผนระยะสั้น  เหมาะสำหรับงานประเภท
การควบคุมและจัดการ  เช่น  ผู้จัดการนำสารสนเทศมาวางแผนการผลิตสินค้าให้ทันต่อความต้องการของลูกค้า  และนักเรียนใช้สารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเลือกเรียนวิชาเลือกที่เหมาะสมกับนักเรียน
            3.
ผู้บริหารระดับสูง  เป็นการใช้สารสนเทศเพื่อการวางแผนระยะยาว  ใช้สำหรับควบคุมนโยบาย
และวางแผนเชิงกลยุทธ์  สารสนเทศที่ใช้จึงมักเป็นผลสรุปที่สามารถนำมาประกอบ การวิเคราะห์  การประเมิน
และการตัดสินใจได้ง่ายยิ่งขึ้น  เช่นผู้จัดการนำผลสรุปค่าเฉลี่ยการผลิตสินค้ามาใช้ในการตัดสินใจซื้อ
เครื่องจักรใหม่  และนักเรียน ใช้ผลสรุปคะแนนเรียนทั้งหมดมาตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย
ตามความสามารถ  เพื่อประโยชน์ในการประกอบอาชีพ


การจัดการสารสนเทศ

                                                            การจัดการสารสนเทศ

การจัดการสารสนเทศ
         
การจัดการสารสนเทศมี  3  ขั้นตอน  คือ  การเก็บรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล  การประมวลผลข้อมูล 
และการดูแลรักษาข้อมูล

การเก็บรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล
           
เป็นขั้นตอนแรกในการจัดการสารสนเทศ  ซึ่งควรกระทำควบคู่กันไป  คือ  เมื่อเก็บรวบรวมข้อมูลได้แล้ว
ก็ทำการตรวจสอบข้อมูลนั้นทันที  เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องตามความต้องการมากที่สุด
            1.
การเก็บรวบรวมข้อมูล  เป็นการจัดการกับข้อมูลจำนวนมาก  จึงควรกำหนดว่าจะต้องใช้ข้อมูลอะไร
บ้าง  ข้อมูลได้มาจากไหน  และจัดเก็บข้อมูลนั้นมาได้อย่างไร
           2.
การตรวจสอบข้อมูล  เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาเพื่อได้สารสนเทศ
ที่คุณภาพ

การประมวลผลข้อมูล
      
การประมวลผลข้อมูล  คือ  การนำข้อมูลที่มีอยู่แล้วหรือข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมและตรวจสอบมา
กระทำเพื่อให้ข้อมูลเปลี่ยนแปลงไปจนเกิดผลลัพธ์ตามที่ต้องการ  ดังนี้
      1.
การรวบรวมเป็นแฟ้มข้อมูล  เป็นการแยกประเภทของข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาอย่างเป็นระบบตามกลุ่ม
และประเภทของข้อมูลนั้น  เพื่อให้สามารถดำเนินการในขั้นตอนต่อไปได้อย่างสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น
ทั้งนี้อาจเก็บไว้ในรูปของแฟ้มเอกสารหรือแฟ้มข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในคอมพิวเตอร์ก็ได้
      2.
การจัดเรียงข้อมูล  เป็นขั้นตอนการประมวลผลข้อมูล  เพื่อให้ง่ายต่อการค้นหาหรืออ้างอิงข้อมูลในอนาคต
      3.
การคำนวณ  เป็นการประมวลผลที่ต้องการผลลัพธ์หรือสารสนเทศที่มีความละเอียดถูกต้อง  แม่นยำ
เนื่องจากที่รวบรวมและจัดเก็บมานั้นอาจมีทั้งรูปแบบของข้อความและตัวเลข  ซึ่งต้องมีการคำนวณหาค่าเฉลี่ยหรือ
ผลรวมของข้อมูลนั้น ๆ
      4.
การทำรายงาน  เป็นการประมวลผลที่มีความสลับซับซ้อนมากที่สุด  โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อเผยแพร่ ข้อมูลในอนาคต  ผู้ดำเนินการจะต้องสรุปข้อมูลเพื่อทำรายงานให้ตรงกับความต้องการในการใช้สารสนเทศ นั้น ๆ
โดยจะต้องนำเสนอรายงานในรูปแบบที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัดการสารสนเทศ

การดูแลรักษาข้อมูล
        
การดูแลรักษาข้อมูล  เป็นขั้นตอนการจัดการสารสนเทศมีจุดประสงค์หลักเพื่อป้องกันและเก็บรักษาข้อมูล ไม่ให้สูญหาย  ช่วยอำนวยความสะดวกในการค้นหาข้อมูลสำหรับนำกลับมาใช้ใหม่ในอนาคต
         1.
การจัดเก็บ  คือการนำข้อมูลที่ผ่านการตรวจสอบและประมวลผลแล้วมาบันทึกเข้าสู่ระบบข้อมูล
อย่างมีระเบียบและเป็นหมวดหมู่  เพื่อความสะดวกในการเรียกใช้งาน  ทั้งนี้อาจจัดเก็บไว้ในรูปแบบของแฟ้มเอกสาร
สิ่งพิมพ์หรือเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ในคอมพิวเตอร์ก็ได้
        2.
การทำสำเนา  คือ  การเพิ่มจำนวนข้อมูลด้านปริมาณ  โดยเนื้อหาของข้อมูลจะไม่เปลี่ยนแปลงไป
จากต้นฉบับหรือข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้ว  สามารถกระทำได้โดยการคัดลอกทั้งจากมนุษย์หรือ
เครื่องจักรต่าง ๆ  ซึ่งเป็นเครื่องถ่ายเอกสารหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ก็ได้
        3.
การแจกจ่ายและการสื่อสารข้อมูล  คือ  การนำสำเนาที่ทำเพิ่มไว้แจกจ่ายให้แก่ผู้ใช้และผู้เกี่ยวข้อง
        4.
การปรับปรุงข้อมูล  คือ  การแก้ไขปรับปรุงรายการข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน  อาจกระทำโดยการแก้ไขข้อมูลบางส่วนหรือบันทึกข้อมูลเพิ่มเติมลงในระบบข้อมูล

วิธีการประมวลผลของข้อมูล

                                                              วิธีการประมวลผลของข้อมูล

วิธีการประมวลผล มี 2 ลักษณะ คือ

(1)
การประมวลผลแบบเชื่อมตรง (online processing)
หมายถึง การทำงานในขณะที่ข้อมูลวิ่งไปบนสายสัญญาณเชื่อมต่อจากเครื่องปลายทาง (terminal) ไปยังฐานข้อมูลของเครื่องหลักที่ใช้ในการประมวลผลการประมวลผลแบบเชื่อมตรงจึงเป็นการประมวลผลโดยทันทีทันใด เช่น การจองตั๋วเครื่องบิน การซื้อสินค้าในห้างสรรพสินค้า การฝากถอนเงินเอทีเอ็ม การประมวลผลแบบเชื่อมตรงจึงเป็นวิธีที่ใช้กันมากวิธีหนึ่ง

(2)
การประมวลผลแบบกลุ่ม (batch processing)
หมายถึง การประมวลผลในเรื่องที่สนใจเป็นครั้งๆ เช่น เมื่อต้องการทราบข้อมูลผลสำรวจความนิยมของประชาชนต่อการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน หรือที่เรียกว่า โพล (poll) ก็มีการสำรวจข้อมูลเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล เมื่อเก็บรวบรวมข้อมูลได้แล้วก็นำมาป้อนเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วนำข้อมูล นั้นมาประมวลผลตามโปรแกรมที่ได้กำหนดไว้ เพื่อรายงานหรือสรุปผลหาคำตอบ กรณีการประมวลผลแบบกลุ่มจึงกระทำในลักษณะเป็นครั้งๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์โดยจะต้องมีการรวบรวมข้อมูลไว้ก่อน